ถ้าเราย้อนเวลากลับไป 30กว่าปีที่แล้ว ในยุค 80-90
เป็นช่วงที่ธุรกิจเครือข่ายเริ่มเติบโต
ผู้คนที่เข้ามาทำธุรกิจเครือข่ายในช่วงนั้น
ต้องพยายามอธิบายกับผู้คนถึงความแตกต่างระหว่าง
“การตลาดแบบเครือข่าย”
กับ
“การตลาดแบบขายตรง”
และ “แชร์ลูกโซ่” (การขายแบบพีระมิด)
.
.
ซึ่งหนังสือเล่มหนึ่งที่นักธุรกิจเครือข่ายนิยมใช้เป็นตำราอ้างอิงหลัก
ในการอธิบายความแตกต่างและโมเดลธุรกิจของการตลาดแบบเครือข่าย
ชื่อว่า “10 Napkin Presentation”
หนังสือเล่มนี้ อธิบายโดยสรุปว่า การตลาดแบบเครือข่าย
เป็นการกระจายสินค้าซึ่งเน้นการสร้างและพัฒนาองค์กร
ให้ทุกคนมีความเป็นผู้ประกอบการที่จะสามารถขายและขยายทีม
ด้วยการชวนคนเข้าสู่ธุรกิจ ซึ่งต่างจาก ขายตรง
ซึ่งเน้นความสามารถในการขายให้ได้ปริมาณมากๆ หรือ
แชร์ลูกโซ่ ซึ่งไม่เน้นการขายและการกระจายสินค้า
.
.
ปี 2010 - 2013 ธุรกิจเครือข่ายไทยมียอดขายสุทธิรวมเติบโตขึ้นทุกปี
จาก 6 หมื่นล้านบาท ขึ้นมาที่ 7 หมื่นล้านบาท
และแกว่งขึ้นลงอยู่ในช่วง 68,000-71,000 ล้านบาท
ตั้งแต่ปี 2014-2017 ข้อมูลล่าสุดจากสมาคมขายตรงไทย (TDSA)
บ่งชี้ว่า ปี 2019 ธุรกิจเครือข่ายไทย มียอดขายสุทธิรวม
ตกลงมาอยู่ที่ 69,800 ล้านบาท เพราะพิษเศษฐกิจไทย
และธุรกิจออนไลน์เติบโตทำให้นักธุรกิจซึ่งเป็นแม่ทีมของบริษัทต่างๆ
หันมาผลิตสินค้าขายเอง ผ่านทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น
.
ในขณะที่ธุรกิจเครือข่ายไทยมียอดการเติบโตที่เริ่มช้าและตกลง
มูลค่าของธุรกิจอีคอมเมิร์ซกลับเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด
จาก 7.68 แสนล้านบาทในปี 2013 เป็น 2.03 ล้านล้านบาท
ในปี 2014 และ 3.15 ล้านล้านบาท ในปี 2018 ตามลำดับ
.
.
ซึ่งเบื้องหลังการเติบโตแบบก้าวกระโดดของธุรกิจอีคอมเมิร์ซนี้
มาจากการเติบโตของพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต
และสื่อสังคมออนไลน์ (Social media) ของคนไทย
โดยมีรายงานว่า ในปี 2019 คนไทยจำนวน 57 ล้านคนเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
คิดเป็นร้อยละ 82 ของประชากรไทยทั้งหมด และ 51 ล้านคน
ใช้งาน social media เป็นประจำ คิดเป็นร้อยละ 74 ของประชากรทั้งหมด
.
.
นอกจากนี้ คนไทยใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมงต่อวันอยู่กับโซเชียลมีเดีย
และ มีมูลค่าการใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชั่น มากกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท (ปี 2018)
ซึ่งสื่อสังคมออนไลน์นี้ ทำหน้าที่เชื่อมโยงธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
กับเนื้อหาที่ผู้ใช้สร้างขึ้นสื่อสารเข้าถึงกันได้สะดวกยิ่งขึ้น
จนเติบโตเป็นธุรกิจที่เรียกว่า โซเชียลคอมเมิร์ซ (Social commerce)
หรือ โซเชียล อีคอมเมิร์ซ (Social e-commerce)
.
.
ในปัจจุบัน ธุรกิจโซเชียลคอมเมิร์ซ ได้พัฒนารูปแบบเครื่องมือที่แตกต่างกัน
ในการดึงดูดผู้ใช้จำนวนมากเข้ามาใช้งานแอปพลิเคชั่น
หนึ่งในเครื่องมือสำคัญในการดึงดูดผู้ใช้ก็คือ การแนะนำต่อ (referral)
ซึ่งในบทความนี้ จะขอเรียกว่า เน็ตเวิร์ค โซเชียล คอมเมิร์ซ (Network social commerce)
โมเดลของแพลตฟอร์มเน็ตเวิร์คโซเชียลคอมเมิร์ซ
จะนำค่าการตลาดที่เก็บจากเจ้าของสินค้ามาจ่ายให้กับผู้บริโภค
ผ่านการแนะนำ (referral) และสร้างเครือข่ายของผู้บริโภค
ซึ่งคล้ายกับธุรกิจเครือข่ายซึ่งอาศัยการแนะนำ (แบบปากต่อปาก) เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม เน็ตเวิร์คโซเชียลคอมเมิร์ช
ยังคงมีความแตกต่างจากโมเดลของธุรกิจเครือข่ายที่ทำออนไลน์
.
.
ตรงที่ ธุรกิจเครือข่าย จะต้องนำเสนอสินค้าและบริการ
ที่เป็นของบริษัทตนเองให้ผู้บริโภคซื้อ และมุ่งเน้นการเข้าประชุมออฟไลน์
เพื่อสร้างความเชื่อในบริษัท สินค้า และแผน
ในขณะที่เน็ตเวิร์คโซเชียลคอมเมิร์ซ จะขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม
ซึ่งเป็นสินค้าที่มีจำหน่ายทั่วไปและเป็นแบรนด์ที่ผู้บริโภครู้จักอยู่แล้ว
และจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายบนแพลตฟอร์ม
ให้เกิดการซื้อและแนะนำต่อตามธรรมชาติ
.
.
บริษัทหนึ่งที่เป็นต้นแบบของธุรกิจเน็ตเวิร์คโซเชียลคอมเมิร์ซ
ที่ประสบความสำเร็จอย่างชัดเจน ได้แก่ บริษัท Yunji
บริษัท Yunji เป็นบริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติจีนที่ก่อตั้งปี 2015
และใช้เวลาไม่นานในการสร้างความร่วมมือทางกลยุทธ์
กับแบรนด์สินค้าต่างๆ ชั้นนำ เพียงแค่ 2 ปี Yunji
สามารถสร้างยอดขายต่อปีได้มากกว่า 1 หมื่นล้านหยวน
หรือ กว่า 4 หมื่นล้านบาท และเข้า IPO ในตลาดหลักทรัพย์ของอเมริกาได้ในปี 2019
.
.
ย้อนกลับมาดูสถานการณ์ในปัจจุบัน ปี 2020 นี้
เกิดโรคระบาดทั่วโลกจากไวรัสโควิด 19
ในประเทศไทยเองรัฐบาลต้องออกมาตรการควบคุมโรคระบาดอย่างเข้มข้น
เช่น มาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคม ซึ่งด้วยมาตรการต่างๆ นั้น
ส่งผลกระทบกับธุรกิจแทบทุกส่วนรวมถึงธุรกิจเครือข่าย
ซึ่งใช้การจัดประชุมเป็นเครื่องมือหลักในการขยายธุรกิจ
แต่ในขณะที่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซซึ่งกลไกเกือบทุกส่วนอยู่ในรูปแบบออนไลน์อยู่แล้ว
ปัญหาของโรคระบาด จึงส่งผลไม่นานนัก
กลับทำให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซสามารถโตต่อได้
ดังจะเห็นได้จากระดับความนิยมในการค้นหาการซื้อสินค้า
และบริการในประเทศไทย กลับมีทิศทางสูงขึ้นในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด19
.
.
หากมองจากแนวโน้มดังกล่าวแล้ว
อาจมองได้ว่าในอนาคตธุรกิจเครือข่ายเองอาจจะต้องปรับตัวมากขึ้น
หรืออาจถูกแทนที่ด้วยโมเดลของเน็ตเวิร์คโซเชียลคอมเมิร์ซเลยก็เป็นได้
.
.
อ้างอิง
www.etda.or.th
Comments